เกตเวย์ (Gateway)
Gatewayส่วนการทำงาน Physical layer
Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง
ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ
gateway และ node ของ
host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย
และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ
host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย
หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway
ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ
เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ
proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้
gateway ยังรวมถึง router และ
switch
Gateway เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน
เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC)
เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น
Gateway จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถมากที่สุดคือสามารถเครือข่ายต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ
LAN ที่มีหลายๆโปรโตคอลเข้าด้วยกันได้
และยังสามารถใช้สายส่งที่ต่างชนิดกัน ตัวgateway จะสามารถสร้างตาราง
ซึ่งสารารถบอกได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่ภายใต้ gatewayตัวใดและจะสามารถปรับปรุงข้อมูลตามเวลาที่ตั้งเอาไว้
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต
สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อโดยตรง
การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก
(Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า
เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง
โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต
เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก
การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง
แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา
2. การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP)
จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server)
ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต
ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP
จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว
เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น
2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้
การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User
Services)
เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว
จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP
เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User
Services)
บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้
โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์
ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง
รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง
ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
ที่มา: