แอ็คเซสพอยต์ (Access Point)

แอ็คเซสพอยต์ (Access Point)

Access Point  ส่วนการทำงาน Physical layer
คือ Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ
- ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
- ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
- ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน
ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP
การใช้งาน AP นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากถ้าเทียบกับอุปกรณ์ไวร์เลสชนิดอื่น ๆ เพราะการใช้งาน AP นั้นไม่ต้องมีการตั้งค่าอะไรมากมาย เพียงเสียบสายแลนและตั้ง IP ให้อยู่วงเดียวกับตัวโมเด็มก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว

ระบบการทำงานของ AP ว่าสามารถทำงานในโหมดแบบไหนได้บ้าง

  • โหมด Access Point
โหมดนี้เป็นโหมดพื้นฐานที่สุดเพราะถ้าไม่มีการตั้งค่าอะไรเลย AP จะอยู่ในโหมดนี้ สำหรับโหมดนี้เหมาะกับการใช้งานในเครือข่ายไร้สายที่ไม่ใหญ่มากและสามารถตั้งค่าความปลอดภัยได้หลายระดับตั้งแต่ป้องกันด้วยรหัสผ่านบนมาตรฐาน WEP หรือ WPA หรือป้องกันด้วยการกรอง MAC เพื่อการเชื่อมต่ออินเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากนั้น AP บางตัวยังมีความสามารถอื่น ๆที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่านี้อาทิเช่น การแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกัน
  • โหมด Client Bridge
เป็นโหมดที่เปลี่ยน AP เป็นเครื่องรับซึ่งจะทำตัวเองเป็นลูกข่าย มีหน้าที่ในการรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก AP ที่ส่งมาอีกทอดหนึ่ง ซึ่งระบบนี้จะเน้นในการใช้งานกับ AP ที่อยู่ในระยะไกล หรืออุปกรณ์ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณอินเตอร์เน็ต โหมด Client Bridge จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้
  • โหมด Client Router
เป็นโหมดที่ทำงานคล้ายคลึงกับโหมด Client Bridge อย่างมากเพียงแต่มีข้อแตกต่างที่อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาคือ NAT (Network Address Translation) อุปกรณ์นี้จะมีหน้าที่แปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ พร้อมกันนั้นยังมีการใช้งานฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายได้อีกด้วย 
  • โหมด Wireless Router
โหมดนี้เราสามารถแปลง AP ให้มีการทำงานเหมือนกับ Wireless Router ทุกประการเพียงเราเอาสายแลนเสียบเข้าที่ช่อง WAN ก็จะใช้งานได้เลยทันที
  • โหมด WDS Bridge
เป็นโหมดที่มีการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง AP กับ AP ข้อดีของระบบนี้คือ เมื่อ AP1 ที่ส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้กับ AP2 AP1 ก็จะส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยังเครื่อง AP ตัวที่ 2ด้วยซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการไม่ต้องไปใส่ MAC Address ของผู้ใช้งานกับ AP ทุกตัว
  • โหมด WDS AP
ถ้าใช้งานโหมดนี้ AP จะกลายเป็น Repeater หรือการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อนจะส่งสัญญาณไปยังเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ แต่ข้อเสียของโหมดนี้ก็คือ การเพิ่ม AP ที่มีหน้าที่เป็น Repeater มากขึ้นเท่าไรความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลก็จะช้าลงตามไปด้วยเช่นกัน
  • โหมด Universal Repeater
จะทำงานคล้ายกับโหมด WDS AP แต่แตกต่างกันที่โหมด Universal Repeater สามารถเชื่อมต่อกับ AP ตัวไหนก็ได้ที่อยู่ในรัศมีและสามารถขยายสัญญาณไปให้กับเครื่องลูกข่ายได้เลย ซึ่งผิดกับ โหมด WDS AP ที่ต้องเชื่อมต่อและขยายสัญญาณกับ AP ที่ตั้งค่าไว้เท่านั้น โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้งานโหมด Universal Repeater มากกว่า โหมด WDS AP

ประโยชน์ของ Access Point

ประโยชน์ในการใช้งาน Access Point นั้นก็คือความสะดวกสบายของผู้ใช้งานและผู้ติดตั้ง ซึ่งความสะดวกสบายของผู้ใช้งานนั้นก็คือ เราสามารถนำอุปกรณ์ที่รับสัญญาณ wireless ไปใช้งานตรงไหนก็ได้ที่ AP อยู่โดยไม่ต้องเดินสายแลนไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายอีกด้วย สำหรับความสะดวกสบายของผู้ติดตั้งนั้นก็คือ Access Point นั้นมีการติดตั้งที่ง่ายเพียงเราเลือกโหมดที่ต้องการใช้ตามลักษณะงานที่ไปติดตั้งพร้อมกันนั้นก็ตั้ง IP ให้อยู่ในวงเดียวกันก็สามารถใช้งานกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้แล้ว


ที่มา: