ENJOYGroup รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

นาย ธรรมนูญ บุญใหม่      58143420



นางสาว พัชร โปชัยคุปต์    58143434



นาย สุเมธ  คำยอย            58143440



นาย  ณัฐดนัย ใจเขียว       58143442



นาย ทัศนพล  อูปเสาร์       58143541

อุปกรณ์อื่นๆ (Other)

อุปกรณ์อื่นๆ (Other)


อิมูเลเตอร์ (Emulator) ส่วนการทำงาน Physical layer


อิมูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจากโปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มข่าวสาร ซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง แต่จะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็ได้ บางครั้งอาจจะเป็นทั้ง 2 อย่าง โดยทำให้คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ามานั้นดูเหมือนเป็นเครื่องเทอร์มินัลหนึ่งเครื่อง โฮสต์หรือมินิคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมนำเครื่อง PC มาใช้เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะประหยัดกว่าและเมื่อไรที่ไม่ใช้ติดต่อกับมินิหรือเมนแฟรมก็สามารถใช้เป็น PC ทั่วไปได้






การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN ส่วนการทำงาน Physical layer

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน






สายสัญญาณ ส่วนการทำงาน Physical layer


เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
  • สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย






  • สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ – 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ






Air Card ส่วนการทำงาน Physical layer

Air Card คือ โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โลกอินเทอร์ เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cell site ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
คุณสมบัติที่ควรมีใน AirCard
สามารถรองรับระบบปฏิบัติการได้หลากหลายระบบ เช่น Window Vista, Window XP, Window ME, Window 2000 หรือ Mac OSX ใช้งานโดยเสียบเข้ากับ Port ยูเอสบี ได้ หรือไม่ก็ใช้ช่อง Slot PCMCIA ของ Labtop
สามารถอัพเกรดเฟิร์มแวร์ได้ โดยใช้งานได้ทั้งกับเครือข่าย UMTS/ EDGE/ GSM
สามารถรองรับซิมของระบบโทรศัพท์มือถือบ้านเราได้ทุกค่าย รองรับระบบ 3G และ EDGE Class 12/ GPRS Class 12
รองรับการใช้งาน Voice หรือส่ง SMS
รองรับการใช้งานด้านโทรศัพท์และการใช้งานแฟ็กซ์ควรเลือก AirCard ที่กินไฟน้อย เพราะเหมาสำหรับการใช้งานกับเครื่องโน้ตบุ๊ค หากเราใช้ Aircard ที่กินไฟมากๆ พลังงานในแบตเตอรี่ของเครื่องก็จะหมดเร็วไปด้วย





BLUETOOTHส่วนการทำงาน Physical layer




BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือ
การทำงานของ Bluetooth?

 Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้นโดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-10 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ
ส่วนความสามารถการส่งถ่ายข้อมูลของ Bluetooth จะอยู่ที่ 1 Mbps (1 เมกกะบิตต่อวินาที) และคงจะไม่มีปัญหาอะไรมากกับขนาดของไฟล์ที่ใช้กันบนโทรศัพท์มือถือ หรือ การใช้งานแบบทั่วไป ซึ่งถือว่าเหลือเฟือมาก แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ล่ะก็ คงจะช้าเกินไป และถ้าถูกนำไปเปรียบกับ Wireless LAN (WLAN) แล้ว ความสามารถของ Bluetooth คงจะห่างชั้นกันเยอะ ซึ่งในส่วนของ WLAN ก็ยังมีระยะการรับ-ส่งที่ไกลกว่า แต่ขอได้เปรียบของ Bluetooth จะอยู่ที่ขนาดที่เล็กกว่า การติดตั้งทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ การใช้พลังงานก็น้อยกว่ามาก อยู่ที่ 0.1 วัตต์ หากเทียบกับคลื่นมือถือแล้ว ยังห่างกันอยู่หลายเท่าเหมือนกัน
ประโยชน์ของ Bluetooth?

คอมพิวเตอร์ กับ โทรศัพท์มือถือ
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พริ๊นเตอร์ คีย์บอร์ด เม้าท์ หรือลำโพง การเชื่อมต่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวเชื่อมต่อทั้งหมด (Serial และ USB) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกทั้งในด้านการใช้สอย เคลื่อนย้าย และความเรียบร้อยต่างๆ แต่หากเครื่อง PC มีอุปกรณ์ Bluetooth ก็สามารถติอต่อเข้าหากันได้โดยใช้คลื่นแทนการใช้สายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด ทั้งการส่งไฟล์ภาพ, เสียง, ข้อมูล อีกทั้งระบบเชื่อมต่อผ่าน CSD และ GPRS บนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้นแต่ข้อจำกัดการใช้งานก็มีเช่นกัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค หรือ พ็อกเก็ต พีซี เข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์ ต่อ 1 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งบางทีอาจจะต้องสลับการใช้งานกันบ่อยๆ (สำหรับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายซะส่วนใหญ่) แต่ก็ถือว่าให้ความสะดวกมากกว่าการใช้สายเคเบิ้ล

โทรศัพท์มือถือ กับ ชุดหูฟัง (Small talk)
ชุดหูฟัง หรือ Small talk อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้เกือบทุกคนต้องมีใช้กัน ซึ่งราคาเดี๋ยวนี้มีตั้งแต่ 30-300 บาท ในด้านการใช้งานบนเครื่องโทรศัพท์มือถือ หากเป็นชุดหูฟังแบบมีสาย ข้อจำกัดจะอยู่ที่ เราไม่สามารถเคลื่อนตัวไปไหนได้ไกลกว่าที่สายจะยาวถึง แล้วก็ต้องคอยระวังสายไม่ให้ไปเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ บางทีอาจจะทำให้สายหลุดออกจากเครื่องด้วย แต่เมื่อนำ Bluetooth มาแทนที่การใช้งาน ก็น่าจะเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้มือทั้งสองข้างทำงานอย่างอื่นไปพร้อมๆ กันด้วย ทั้งในเวลาขับรถ (ตอนนี้กฎหมายก็มีออกมาแล้ว เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือบนรถ) ขณะออกกำลังกาย หรือ ขณะปฏิบัติกิจต่างๆ ก็สามารถขยับตัวไปไหนได้อย่างสะดวก แค่หยิบชุดหูฟังมาแนบหูแล้วเอาโทรศัพท์เหน็บเอว
จากประโยชน์ต่างๆ จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี Bluetooth สามารถนำมาใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และยังเพิ่มความสะดวกในการใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ และนอกเหนือจากที่กล่าวไป Bluetooth ยังถูกพัฒนามาใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย ทั้งหูฟังสเตอริโอ เครื่องเล่นซีดี รีโมทวิทยุ แม้กระทั่งในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี Bluetooth ไปใช้กันแล้ว ทั้งชุด Handsfree, หรือ รีโมทเปิด-ปิดประตู หรือระบบ Keyless แต่เราไม่ต้องกดปุ่มที่กุญแจอีกต่อไป เพียงแค่อยู่ในระยะการทำงาน ประตูก็จะเปิดล็อคให้ทันที ส่วนเวลาลงรถก็สามารถเดินตัวปลิวออกจากรถได้เลย เมื่อการเชื่อมต่อระหว่างตัวรถกับกุญแจขาดจากกัน ก็จะล็อคให้เองอัตโนมัติ (รถบางรุ่นเริ่มมีใช้กันแล้ว Mercedes-Benz SLR)
 
 









ที่มา:

สวิตซ์ (Switch)

สวิตซ์ (Switch)


สวิตซ์ (Switch)ส่วนการทำงาน Physical layer
สวิตซ์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาการต่อจากฮับอีกทีหนึ่งมีความสามารถมากกว่า Hub โดยการทำงานของสวิตซ์จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายข้อมูลไปยังทุกพอร์ตเหมือนอย่างฮับ ทำให้ในสวิตซ์ไม่มีปัญหาการชนของข้อมูล สวิตซ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link Layer คือจะรับผิดชอบในการเชื่อมโยงของข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของการติดต่อจากโหนดหนึ่งไปอีกโหนดหนึ่งและความสมบูรณ์ของการรับส่งข้อมูล สำหรับในชั้นเชื่อมโยงข้อมูลนั่นจะทำการแบ่งข้อมูลระดับบิตที่ได้รับจากชั้น Physical Layer เป็นข้อมูลชนิดที่เรียกว่า เฟรม ก่อนจะส่งไปยังชั้นถัดไป ก็คือ Network Layer
หลักการทำางานของ Switch
หลักการทำงานของ Switch เหมือนการทำงานขอ Hub เพียงแต่ว่าทำงานได้เร็วกว่าและยังมีจำนวนพอร์ตที่มากกว่า
Hub กับ SWITCH แตกต่างกันอย่างไร
HUB กับ SWITCH นั้นจะทำหน้าที่คล้าย กันเพียงแต่ HUB นั้นเวลาส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ broadcast กระจายไปทุกเครื่องแต่ถ้าเป็น switch นั้น จะดูว่าข้อมูลนี่เป็น ของเครื่องไหนแล้วค่อยส่งไปยังเครื่องนั้น ดังนั้นHUB จึงสามารถ LAN ได้มากกว่านอกจากนี้ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ต่างกันคือ speed HUB คือspeed / N เครื่องเช่น LAN 100 Mbps 10 เครื่อง ทุกเครื่องได้แค่ 10 Mpbsส่วน speed switch นั้น Lan 100 mpbs ทุกเครื่องได้ 100 mbps

ที่มา

ฮับ (Hub)

ฮับ (Hub)



HUBส่วนการทำงาน Physical layer
Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้ลักษณะ
โดยทั่วไปจะมีลักษณะเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมแต่แบน มีความสูงประมาณ1-3นิ้ว แล้วแต่รุ่น มีช่องเล็กๆเอาไว้เสียบสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์ มีหลายรุ่น เช่น Hub 4 Ports, 8 Ports หรือ 48 Ports เป็นต้น หน้าตารูปร่างของฮับจะเหมือนกับ Switch
การทำงาน
เมื่อใดที่มีคอมพิวเตอร์ภานในเครื่อข่ายต้องการส่งข้อมูล ฮับทำหน้าที่ในการทำสำเนาข้อมูลและส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่อข่าย ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์แต่รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆด้วยเช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น เรียกว่าส่งข้อมูลไปทั้งหมดและถ้าข้อมูลนี้เป็นของอุปกรณ์ใด อุปกรณ์นั้นก็จะรับเองอัตโนมัติ และจุดด้อยของฮับที่ควรทราบคือ เวลามีอุปกรณ์ใดส่งข้อมูลในเครื่อข่ายผ่านฮับ อุปกรณ์อื่นๆ จะต้องรอให้การส่งสมบูรณ์ก่อน เปรียบเทียบได้กับถนน One-wayห้ามส่งข้อมูลส่วนทางกัน



ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ
  •  ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS
  • ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS
  • บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS


ระยะทางจากฮับสูคอมพิวเตอร์
โยปกติเราสามารถต่อสายแลนจากคอมพิวเตอร์เข้าสู่ฮับได้ ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร (มาตรฐานนี้ใช้กับสายแลนประเภท (Cat5, Cat5e)


ที่มา
http://www.it-guides.com/training-a-tutorial/network-system/what-is-hub

โมเด็ม (Modem)


โมเด็ม (Modem)


โมเด็ม (Modem)ส่วนการทำงาน Physical layer

โมเด็ม (Modem) มีหน้าที่ในการรับสัญญาณจากสายโทรศัพท์ที่เป็นสัญญาณอนาล็อค มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการจะส่งข้อมูลออกไปจะส่งเป็นสัญญาณดิจิตอลไปยังโมเด็ม โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณดิจิตอลที่ได้รับเป็นสัญญาณอนาล็อคเพื่อทำการส่งไปยังสายโทรศัพท์ โดยปกติแล้วลักษณะของโมเด็มจะมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะแต่ในที่นี้จะขอพูดถึงโมเด็มที่ใช้ติดตั้งภายนอกคอมพิวเตอร์หรือ External Modem ลักษณะของโมเด็มประเภทนี้จะมีช่องเสียบ RJ-11 ซึ่งรองรับไว้เสียบกับสายโทรศัพท์ และช่องเสียบแบบ RJ-45 อีกหนึ่งช่องเพื่อให้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
          ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล  (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
   โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
   โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ  มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
   โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
   โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
        เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น
            1. พบปะพูดคุย
            2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
            3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
            4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
            5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
            6. ส่ง - รับโทรสาร
            7. ตอบรับโทรศัพท์

แอ็คเซสพอยต์ (Access Point)

แอ็คเซสพอยต์ (Access Point)

Access Point  ส่วนการทำงาน Physical layer
คือ Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ
- ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
- ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
- ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน
ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP
การใช้งาน AP นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากถ้าเทียบกับอุปกรณ์ไวร์เลสชนิดอื่น ๆ เพราะการใช้งาน AP นั้นไม่ต้องมีการตั้งค่าอะไรมากมาย เพียงเสียบสายแลนและตั้ง IP ให้อยู่วงเดียวกับตัวโมเด็มก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว

ระบบการทำงานของ AP ว่าสามารถทำงานในโหมดแบบไหนได้บ้าง

  • โหมด Access Point
โหมดนี้เป็นโหมดพื้นฐานที่สุดเพราะถ้าไม่มีการตั้งค่าอะไรเลย AP จะอยู่ในโหมดนี้ สำหรับโหมดนี้เหมาะกับการใช้งานในเครือข่ายไร้สายที่ไม่ใหญ่มากและสามารถตั้งค่าความปลอดภัยได้หลายระดับตั้งแต่ป้องกันด้วยรหัสผ่านบนมาตรฐาน WEP หรือ WPA หรือป้องกันด้วยการกรอง MAC เพื่อการเชื่อมต่ออินเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากนั้น AP บางตัวยังมีความสามารถอื่น ๆที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่านี้อาทิเช่น การแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกัน
  • โหมด Client Bridge
เป็นโหมดที่เปลี่ยน AP เป็นเครื่องรับซึ่งจะทำตัวเองเป็นลูกข่าย มีหน้าที่ในการรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก AP ที่ส่งมาอีกทอดหนึ่ง ซึ่งระบบนี้จะเน้นในการใช้งานกับ AP ที่อยู่ในระยะไกล หรืออุปกรณ์ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณอินเตอร์เน็ต โหมด Client Bridge จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้
  • โหมด Client Router
เป็นโหมดที่ทำงานคล้ายคลึงกับโหมด Client Bridge อย่างมากเพียงแต่มีข้อแตกต่างที่อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาคือ NAT (Network Address Translation) อุปกรณ์นี้จะมีหน้าที่แปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ พร้อมกันนั้นยังมีการใช้งานฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายได้อีกด้วย 
  • โหมด Wireless Router
โหมดนี้เราสามารถแปลง AP ให้มีการทำงานเหมือนกับ Wireless Router ทุกประการเพียงเราเอาสายแลนเสียบเข้าที่ช่อง WAN ก็จะใช้งานได้เลยทันที
  • โหมด WDS Bridge
เป็นโหมดที่มีการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง AP กับ AP ข้อดีของระบบนี้คือ เมื่อ AP1 ที่ส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้กับ AP2 AP1 ก็จะส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยังเครื่อง AP ตัวที่ 2ด้วยซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการไม่ต้องไปใส่ MAC Address ของผู้ใช้งานกับ AP ทุกตัว
  • โหมด WDS AP
ถ้าใช้งานโหมดนี้ AP จะกลายเป็น Repeater หรือการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อนจะส่งสัญญาณไปยังเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ แต่ข้อเสียของโหมดนี้ก็คือ การเพิ่ม AP ที่มีหน้าที่เป็น Repeater มากขึ้นเท่าไรความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลก็จะช้าลงตามไปด้วยเช่นกัน
  • โหมด Universal Repeater
จะทำงานคล้ายกับโหมด WDS AP แต่แตกต่างกันที่โหมด Universal Repeater สามารถเชื่อมต่อกับ AP ตัวไหนก็ได้ที่อยู่ในรัศมีและสามารถขยายสัญญาณไปให้กับเครื่องลูกข่ายได้เลย ซึ่งผิดกับ โหมด WDS AP ที่ต้องเชื่อมต่อและขยายสัญญาณกับ AP ที่ตั้งค่าไว้เท่านั้น โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้งานโหมด Universal Repeater มากกว่า โหมด WDS AP

ประโยชน์ของ Access Point

ประโยชน์ในการใช้งาน Access Point นั้นก็คือความสะดวกสบายของผู้ใช้งานและผู้ติดตั้ง ซึ่งความสะดวกสบายของผู้ใช้งานนั้นก็คือ เราสามารถนำอุปกรณ์ที่รับสัญญาณ wireless ไปใช้งานตรงไหนก็ได้ที่ AP อยู่โดยไม่ต้องเดินสายแลนไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายอีกด้วย สำหรับความสะดวกสบายของผู้ติดตั้งนั้นก็คือ Access Point นั้นมีการติดตั้งที่ง่ายเพียงเราเลือกโหมดที่ต้องการใช้ตามลักษณะงานที่ไปติดตั้งพร้อมกันนั้นก็ตั้ง IP ให้อยู่ในวงเดียวกันก็สามารถใช้งานกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้แล้ว


ที่มา:

รีพีตเตอร์ (Repeater)

รีพีตเตอร์ (Repeater)



รีพีตเตอร์ (Repeater)ส่วนการทำงาน Physical layer

รีพีทเตอร์สำหรับเครือข่ายวิทยุเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยขยายเขตการติดต่อ

 ทำหน้าที่

เป็นตัวรับสัญญาณอ่อนที่ส่งเข้ามาและทำการส่งออกไปด้วยกำลังที่สูงขึ้น ระบบที่ใช้กันมากคือการส่งออกทันทีด้วยความถี่ต่างกัน (Duplex Repeater) ในระบบรีพีทเตอร์ย่าน VHF ของวิทยุสมัครเล่นนั้น ความถี่ที่รับจะใช้ความถี่ต่ำกว่าความถี่ส่งอยู่ 600 kHz (-600 kHz) แต่ในรีพีทเตอร์บางแบบจะใช้ความถี่ขาเข้าและขาออกด้วยความถี่เดียว(Simplex Repeater) กัน แต่หน่วงเวลาเพื่อรับข้อความขาเข้าจนจบแล้วจึงทำการส่งออกไป
                ระบบรีพีทเตอร์มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้การติดต่อในกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นทำได้ง่ายขึ้นและระยะทางไกลมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบสาบอากาศประจำสถานีที่สูงมากนัก โดยเฉพาะช่วงเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินระบบรีพีทเตอร์จะมีบทบาทอย่างโดดเด่นทุกครั้ง รีพีทเตอร์บางกลุ่มในสหรัฐอเมริกาจะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการติดต่อได้ตลอดเส้นทางหลวงของประเทศทั้งหมด
การใช้รีพีทเตอร์อย่างเหมาะสมนั้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบบริการรีพีทเตอร์มิได้ออกแบบมาให้ใช้งานแทนการติดต่อโดยตรงเหมือนระบบ Simplex (รับและส่งความถี่เดียวกัน)แต่การใช้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพนั้น การติดต่อผ่าน
รีพีทเตอร์ให้สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ทำตัวเป็นผู้ยึดครองรีพีทเตอร์เพื่อใช้เฉพาะกลุ่มของตัวเอง เป็นที่น่าเห็นใจว่ามิใช่ว่านักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะสามารถติดตั้งสายอากาศให้ติดต่อโดยตรงในระยะไกลได้ทั้งหมด การใช้รีพีทเตอร์สำหรับบางคนจะเป็นหนทางเดียวที่จะติดต่อกับสถานีอื่นๆได้ ถึงกระนั้นก็ต้องมีสามัญสำนึกอยู่เสมอว่ารีพีทเตอร์เป็นบริการสาธารณที่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ด้วย
                ในการติดต่อปรกติถ้าพบว่าสามารถติดต่อกับคู่สถานีได้โดยตรงแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการติดต่อผ่านรีพีทเตอร์โดยเร็วซึ่งนับมารยาทและหลักปฏิบัติ ที่น่าชื่นชม แต่เรามักพบว่ามีนักวิทยุที่ขาดสามัญสำนึกในข้อนี้และถือโอกาสที่ไม่มีใคร ใช้งานรีพีทเตอร์อย่างต่อเนื่องโดยไม่นึกถึงเหตุผลและความถูกต้อง แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจซึ่งเพื่อนๆนักวิทยุสมัครที่รู้จักมัก คุ้นอยู่ด้วยกันจะสามารถชี้แจงให้เข้าใจได้ ซึ่งพวกเราทุกคนสามารถสร้างความเข้าใจและปฏิบัติตามเพื่อให้กิจกรรมวิทยุสมัครเล่นเป็นเรื่องที่มีระเบียบน่าชื่นชมต่อไปในอนาคต

ที่มา:
https://sites.google.com/site/39srayya45sathida/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-5/ri-phit-texr-khux-xari

บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์ (Bridge)












บริดจ์ ( Bridge) ส่วนการทำงาน Physical layer
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งดูแล้วคล้ายกับเป็นสะพานเชื่อมสองฟากฝั่งเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า บริดจ์ซึ่งแปลว่าสะพาน
เครือข่ายสองเครือข่ายที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องเป็นเครือข่ายชนิดเดียวกัน และใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน เช่น ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายตามมาตรฐานอีเทอร์เน็ตสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือต่อ Token Ring สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน  บริดจ์ช่วยลดปริมาณข้อมูลบนสาย LAN ได้บ้าง โดยบริดจ์จะแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย และกรองข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อส่งต่อให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูกต้องได้ หลักการทำงานของบริดจ์จะพิจารณาจากหมายเลขของเครื่องหรือ Media Access Control address (MAC address) ซึ่งเป็นที่อยู่ที่ฝังมาในฮาร์ดแวร์ของการ์ด LAN แต่ละการ์ด ซึ่งจะไม่ซ้ำกัน แต่ละหมายเลขจะมีเพียงการ์ดเดียวในโลก
บริดจ์จะมีการทำงานในระดับชั้นที่ 2 คือ Data Link Layer ของ โมเดล OSI คือ มองข้อมูลที่รับส่งกันเป็น packet แล้วเท่านั้น โดยไม่สนใจโปรโตคอลที่ใช้สื่อสาร บริดจ์จะตรวจสอบข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาจากที่อยู่ของผู้รับปลายทาง ถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากของเครือข่ายก็จะขยายสัญญาณ (เช่นเดียวกับรีพีตเตอร์) แล้วจึงค่อยส่งต่อให้ แต่จะไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่องปลายทางจะใช้เส้นทางใด การติดตั้งบริดจ์จะคล้ายกับการติดตั้ง Hub ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับแต่งค่าต่างๆ ที่มีอยู่ สามารถต่อใช้งานได้ทันที แต่ก็อาจจะกำหนดตัวแปรของค่าที่ใช้ควบคุมบริดจ์ได้ถ้าต้องการ ซึ่งไม่ยากมากนัก ผู้ดูแลเครือข่ายขนาดเล็กๆ ก็สามารถทำเองได้ ในปัจจุบันระบบเครือข่ายเริ่มนิยมใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า สวิตช์ (switch) ซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกับบริดจ์นั่นเอง

ที่มา:
  http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan6.htm